logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • คณิตศาสตร์
  • รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 7 Pythagoras

รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 7 Pythagoras

โดย :
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
เมื่อ :
วันพุธ, 10 กรกฎาคม 2562
Hits
26248

         เชื่อว่าหลายคนที่กำลังอ่านบทความนี้ ต้องเคยได้ยินคำว่า ทฤษฎีบทพีทาโกรัส หรือทฤษฎีสามเหลี่ยมพีทาโกรัสกันมาอย่างแน่นอนที่ว่า “สำหรับรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ พื้นที่ของรูปสี่่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านตรงข้ามมุมฉาก  เท่ากับผลบวกของพื้นที่ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสบนด้านประกอบมุมฉาก”

          ซึ่งชื่อ “พีทาโกรัส” นี้ ก็มีที่มาจาก การตั้งชื่อตามชื่อของนักคณิตศาสตร์ผู้ค้นพบทฤษฎีบทและการพิสูจน์นั้นเอง และแน่นอนว่าเรากำลังกล่าวถึง นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกชื่อดังที่มีชื่อว่า “พีทาโกรัส” (Pythagoras) ซึ่งจะนำเสนอประวัติและความเป็นมาให้ผู้อ่านทุกท่านได้ทราบกันในบทความนี้

10104 1

ภาพที่ 1  “พีทาโกรัส” (Pythagoras)
ที่มา ดัดแปลงจาก http://commons.wikimedia.org/wiki/Image:Kapitolinischer_Pythagoras.jpg , Galilea at German Wikipedia.

          พีทาโกรัส นับเป็นนักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ที่โลกจดจำอีกท่านหนึ่ง พีทาโกรัสนับเป็นนักปราชญ์ชาวกรีกโบราณที่มีชีวิตอยู่ในช่วง 500 ปี ก่อนคริสต์ศักราช เป็นชาวเมืองซามอสซึ่งอยู่ในประเทศกรีซในปัจจุบัน

          ด้านการศึกษาของพีทาโกรัส  ด้วยความฉลาดและใฝ่ความรู้ พีทาโกรัสได้ออกเดินทางเพื่อศึกษาเล่าเรียนวิชาต่าง ๆ มากมายจากบุคคลสำคัญของโลกในสมัยนั้น และเป็นบุคคลที่ได้ชื่อว่าเป็นนักเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ มากมายเช่นกัน อาธิ อาระเบีย เปอร์เซีย อินเดีย และอียิปต์  และในช่วงชีวิตเริ่มต้นหนึ่ง เขาถูกกษัตริย์คัมไบเซสที่สองแห่งเปอร์เซียจับกุมไปยังบาบิโลนในฐานะนักโทษ  แต่ที่แห่งนั้นก็ทําให้เขาได้เรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์และดนตรีของชาวบาบิโลเนียน

          ภายหลังจากการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ มากมายแล้ว พีทาโกรัสได้กลับไปยังบ้านเกิดของตน แต่ก็ต้องมีเหตุให้ต้องย้ายถิ่นฐานไปยังเมืองโครโทน อันเหตุจากเกาะซามอสได้ตกไปอยู่ภายใต้รัฐบาลทรราชของโพลีเครติส

          ณ เมืองโครโทนที่เขาย้ายมานั้นเอง เขาได้ก่อตั้งสมาคมศาสนาอย่างลับ ๆ และมีการปฏิรูปวัฒนธรรมของชาวโครโทนให้เป็นไปตามรูปแบบที่เขาต้องการ โดยปฏิบัติตนตามจริยธรรมและมีการสร้างกลุ่มสาวกเป็นของตนเองที่ชื่อว่า “พีทาโกเรียน” และเรียกตัวเองว่ามาเททาทิคอย (Mathematikoi)  และที่แห่งนี้เอง พีทาโกรัสก็ได้สร้างโรงเรียนขึ้น โดยผู้ที่จะเข้าศึกษาที่นี่ จะต้องสละทรัพย์สินของตน และกินนอนอยู่ที่โรงเรียน โรงเรียนของพีทาโกรัสจะมีการเรียนการสอนที่เน้นวิชาทางด้านต่าง ๆ คือ ปรัชญา คณิตศาสตร์ และดาราศาสตร์

ผลงานสำคัญ

          นักคณิตศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้ เป็นที่ทราบและรู้จักกันดีว่า เป็นผู้คิดค้นสูตรคูณ หรือตารางพีทาโกเรียน(Pythagorean Table) ทฤษฎีบทเรขาคณิตหรือทฤษฎีบทพีทาโกรัส คุณสมบัติของแสงและเสียง และเป็นนักวิทยาศาสตร์คนแรกที่คิดค้นทฤษฎีเกี่ยวกับโลกกลม และการหมุนรอบตัวเองของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ โลกและดาวเคราะห์

         พีทาโกรัสเคยกล่าวเกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์ไว้ว่า  "คณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานของทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าไม่มีคณิตศาสตร์แล้วทุกอย่างก็จะไม่เกิดขึ้น" ซึ่งก็จริงแท้แน่นอน เพราะจะเห็นได้ว่า สิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้ ก็ล้วนแล้วแต่ต้องอาศัยการคำนวณ การวัด การชั่ง ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นหลักการพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้งสิ้น

ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

          ทฤษฎีบทพีทาโกรัส แสดงความสัมพันธ์ในเรขาคณิตแบบยุคลิด ระหว่างด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉาก ซึ่งอธิบายได้ว่า "ในรูปสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ กำลังสองของความยาวของด้านตรงข้ามมุมฉาก เท่ากับผลบวกของกำลังสองของความยาวของด้านประกอบมุมฉาก"

          ดังสมการพีทาโกรัส สมการแสดงความสัมพันธ์กับความยาวของด้าน a, b และ c คือ a2 + b2 = c2  โดยที่ c เป็นความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก และ a และ b เป็นความยาวของอีกสองด้านที่เหลือ

10104 2

ภาพที่ 2 ผลรวมของพื้นที่ของสี่เหลี่ยมสองรูปบนด้านประชิดมุมฉาก a และ b เท่ากับพื้นที่ของสี่เหลี่ยมบนด้านตรงข้ามมุมฉาก c
ที่มา สุภัตรา ทรัพย์อุปการ

ผลงานเกี่ยวกับสมบัติของแสง และการมองวัตถุ

          พีทาโกรัสยังค้นคว้าเกี่ยวกับสมบัติของแสง และการมองวัตถุ จนได้พบว่าข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการมองเห็นว่า เราไม่สามารถมองเห็นแสงสว่างได้ เพราะแสงสว่างเป็นเพียงอนุภาคเล็ก ๆ เท่านั้น แต่แสงสว่างเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เรามองเห็นวัตถุ เนื่องจากแสงตกกระทบไปที่วัตถุทำให้วัตถุนั้นสะท้อนแสงมากระทบกับตาเรา ดังเช่นที่เราสามารถมองเห็นดวงจันทร์มีแสง ก็เพราะแสงจากดวงอาทิตย์ที่ส่องไปยังดวงจันทร์และ สะท้อนกลับมายังโลก ทั้งที่ดวงจันทร์ไม่มีแสงแต่เราก็สามารถมองเห็นดวงจันทร์ได้

ผลงานเกี่ยวกับสมบัติของเสียง

          พีทาโกรัสค้นคว้าเกี่ยวกับสมบัติของเสียง จนได้พบว่า เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของวัตถุ การพบความจริงข้อนี้เนื่องจากวันหนึ่งเขาได้เดินผ่านร้านตีเหล็กแห่งหนึ่ง ปีทาโกรัสได้ยินเสียงที่เกิดจากช่างตีเหล็กใช้ค้อนตีแผ่นเหล็ก แผ่นเหล็กนั้นสั่นสะเทือน ซึ่งเป็นตัวการที่ทำให้เกิดเสียง

นอกจากนี้ ก็ยังมีผลงานอื่น ๆ อีก เช่น

        1) การได้พบว่า ผลบวกมุมภายในของสามเหลี่ยมใด ๆ จะเท่ากับ 2 มุมฉากเสมอ และในกรณีรูป n เหลี่ยม ผลบวกของมุมภายใน = (2n - 4) มุมฉาก ส่วนผลบวกของมุมภายนอก = 2 มุมฉากเสมอ

        2) สามารถแก้สมการ (a – x) = x² ได้โดยใช้วิธีเรขาคณิต

        3) เป็นบุคคลแรกที่เสนอความคิดว่าโลกกลม และเป็นจุดศูนย์กลางของเอกภพที่ถูกห่อหุ้มด้วยทรงกลมใสมากมาย และทรงกลมมีดาวฤกษ์ติดอยู่ที่ผิว โดยทุกทรงกลมจะหมุนอย่างช้าๆ รอบโลกด้วยความเร็วสม่ำเสมอ

       4) เป็นบุคคลแรกที่พบว่า ดาวประกายพฤกษ์ และดาวประจำเมือง คือ ดาวดวงเดียวกัน

          ทั้งหมดที่ได้กล่าวไปข้างต้นนั้นก็เป็นผลงานของพีทาโกรัส ซึ่งถึงแม้ว่าจะไม่มีผลงานมากมายเหมือนนักคณิตศาสตร์คนอื่น ๆ แต่ผลงานที่มีอยู่นั้นก็เป็นผลงานที่มีคุณค่าและยิ่งใหญ่อย่างยิ่งสำหรับวงการคณิตศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน

แหล่งที่มา

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) . พจนานุกรมศัพท์วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี . สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://escivocab.ipst.ac.th/vocab/ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

พีทาโกรัส. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://th.wikipedia.org/wiki/พีทาโกรัส

พีทาโกรัส…บิดาแห่งตัวเลข. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก http://nstda.or.th/rural/public/100%20articles-stkc/24.pdf

ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน. Pythagoras ปราชญ์ยุคพุทธกาล. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก https://mgronline.com/science/detail/9540000001493

$py. นักวิทยาศาสตร์ (scientist) , Pythagoras. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก http://ceiinsstt.blogspot.com/2016/08/pythagoras.html

ศ.ดร.สุทัศน์ ยกส้าน. Pythagoras ปราชญ์รุ่นพระพุทธเจ้า. สืบค้นเมื่อ 12 เมษายน 2562 . จาก http://lib.edu.chula.ac.th/IWEBTEMP/25620505/734992711052425.PDF

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ประวัติ,นักคณิตศาสตร์, Pythagoras,พีทาโกรัส
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันศุกร์, 12 เมษายน 2562
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 10104 รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอนที่ 7 Pythagoras /article-mathematics/item/10104-7-pythagoras
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    Average rating
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอน ตอนที่ 11 Thales
รู้จักกับนักวิทย์-คณิต จากทุกมุมโลก ตอน ...
Hits ฮิต (14362)
ให้คะแนน
ผลงานประวัติศาสตร์ในอดีตเรื่องหนึ่ง ที่เป็น คำบอกเล่าและถ่ายทอดต่อกันมา โดยหาผลงานต้นฉบับไม่ได้ ผลง ...
ลดการใช้พลังงานด้วยคณิตศาสตร์
ลดการใช้พลังงานด้วยคณิตศาสตร์
Hits ฮิต (25900)
ให้คะแนน
...ลดการใช้พลังงานด้วยคณิตศาสตร์... สมเกียรติ เพ็ญทอง ช่วงเดือนมีนาคม เมษายนที่ผ่านมานับว่าเป็นช่วง ...
เข้าใจคณิตศาสตร์ให้ง่ายขึ้นกับหลักการ CPA
เข้าใจคณิตศาสตร์ให้ง่ายขึ้นกับหลักการ CP...
Hits ฮิต (4188)
ให้คะแนน
การเรียนรู้เป็นสิ่งที่ช่วยให้คนเรามีการพัฒนา การเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์เองก็เช่นกัน ที่จะช่วยให้เราม ...
ค้นหาบทความ
กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. Privacy. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)