logo IPST4 IPST4
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • Ebook อื่นๆ
  • Apps
  • เกี่ยวกับ scimath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
  • learning space
  • ระบบอบรมครู
  • ระบบการสอบออนไลน์
  • ระบบคลังความรู้
  • สสวท.
  • สำนักงานสลากกินแบ่ง
  • วีดิทัศน์
  • คลังภาพ
  • บทความ
  • โครงงาน
  • บทเรียน
  • แผนการสอน
  • E-Books
    • คู่มือครู
    • คู่มือการใช้หลักสูตร
    • ชุดสื่อ 60 พรรษา
    • หนังสือเรียน
    • E-Books อื่นๆ
  • Apps
Login
Login / Register
  • สมัครสมาชิก
  • ลืมรหัสผ่าน
ค้นหา
    

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
เลือกหมวดหมู่
    
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • หน้าแรก
  • บทความ
  • คณิตศาสตร์
  • คณิตศาสตร์มีโครงสร้างหรือเปล่า

คณิตศาสตร์มีโครงสร้างหรือเปล่า

โดย :
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
เมื่อ :
วันพฤหัสบดี, 24 ธันวาคม 2563
Hits
2252

          สิ่งต่าง ๆ บนโลกใบนี้ ส่วนใหญ่ก็มักจะมีโครงสร้างของสิ่งนั้น ๆ อยู่เสมอ แล้วเคยสงสัยกันบ้างไหมว่า คณิตศาสตร์ที่เรารู้จักกันนั้นมีโครงสร้างหรือเปล่า ไม่ต้องเสียเวลาหาคำตอบ ผู้เขียนนำคำตอบมาสรุปให้ได้อ่านกันอย่างง่าย ๆ กันที่บทความนี้แล้ว

11495 1

ภาพแผนภูมิโครงสร้างคณิตศาสตร์
ที่มา ดัดแปลงจาก http://elearning.psru.ac.th/courses/172/1.2.pdf,
http://www.eledu.ssru.ac.th/thanatyod_ja/pluginfile.php/77/block_html/content/PrintMath2560.pdf

         ธรรมชาติของคณิตศาสตร์

          ก่อนจะรู้ว่าคณิตศาสตร์มีโครงสร้างอย่างไร เรามาทำความรู้จักกับธรรมชาติของคณิตศาสตร์กันก่อน เพราะกล่าวได้ว่า โครงสร้างของคณิตศาสตร์นั้น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งของคณิตศาสตร์นั่นเอง ดังนี้

          ธรรมชาติของคณิตศาสตร์มีส่วนสำคัญ ประกอบด้วย

  1. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับความคิดรวบยอด

  2. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่แสดงความเป็นเหตุเป็นผล

  3. คณิตศาสตร์มีลักษณะเป็นภาษาสากล

  4. คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง

  5. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่มีโครงสร้าง

          จากที่กล่าวไปนั้น จะเห็นว่าคณิตศาสตร์มีโครงสร้างอย่างแน่นอน เพราะเป็นประเด็นสำคัญประการหนึ่งที่เป็นธรรมชาติของคณิตศาสตร์ หรืออาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า ธรรมชาติของคณิตศาสตร์นั้น เป็นวิชาที่มีโครงสร้างนั่นเอง  ทั้งนี้กำเนิดมาจากกระบวนการทางธรรมชาติที่มนุษย์ได้เฝ้าสังเกตความเป็นไปของธรรมชาติในศาสตร์หรือความรู้ผ่านธรรมชาติ และกำหนดให้เป็นปัญหาโดยสรุปในรูปแบบของนามธรรม จากนั้นสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ (คำอนิยาม คำนิยาม บทนิยม และสัจพจน์หรือข้อตกลง) และใช้ตรรกศาสตร์สรุปออกมาเป็นกฎหรือทฤษฎีบท จากนั้นก็นำกฎหรือทฤษฎีบทนั้นไปประยุกต์ใช้กับธรรมชาติใหม่อีกครั้ง ซึ่งกระบวนการนี้อาจทำให้ได้ข้อมูลหรือความรู้ที่ใหม่กว่าเดิม และก่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขแบบจำลองนำไปสู่กฎหรือทฤษฎีบทที่ดีกว่าเดิม แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับธรรมชาติใหม่อีกครั้งเป็นวัฏจักรต่อไป

          หรือหากเรามองว่าคณิตศาสตร์เป็นระบบหนึ่ง คณิตศาสตร์จะมีองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ โครงสร้างของคณิตศาสตร์และกระบวนการให้เหตุผล ซึ่งโครงสร้างคณิตศาสตร์ ก็ยังสามารถแยกได้เป็น 4 ส่วนดังนี้

  1. คำอนิยาม (undefined term) เป็นคำที่ให้คำจำกัดความไม่ได้แต่เข้าใจความหมายได้ จากการเรียนรู้ประสบการณ์ ความคุ้นเคยกับคุณสมบัติ เช่น จุด เส้น ระนาบ เป็นต้น

  2. คำนิยาม (defined term) เป็นคำที่ให้คำจำกัดความได้ เช่น รูปสามเหลี่ยม วงกลม เป็นต้น

  3. สัจพจน์ (postulate) เป็นข้อความที่ได้รับการตกลงหรือยอมรับว่าเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์ เช่น ส่วนของเส้นตรงเส้นหนึ่งมีจุดกึ่งกลางได้เพียงจุดเดียวเท่านั้น

  4. ทฤษฎีบท (theorem) เป็นข้อความที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นจริงทุกกรณี โดยใช้การให้เหตุผลทางตรรกศาสตร์ โดยการนำเอานิยาม สัจพจน์ หรือทฤษฎีบทที่ได้พิสูจน์แล้วไปสนับสนุนให้เป็นเหตุเป็นผล

          และทั้งหมดที่ได้นำเสนอไปนั้น ก็เป็นข้อมูลสาระสำคัญที่จะให้คำตอบกับผู้อ่านทุกท่านได้ว่า คณิตศาสตร์ก็มีโครงสร้างของมันเองอยู่เหมือนกันนะ

แหล่งที่มา

ธนัชยศ จำปาหวาย.เอกสารประกอบการสอนรายวิชาหลักการคณิตศาสตร์สำหรับครู.  สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก http://www.eledu.ssru.ac.th/thanatyod_ja/pluginfile.php/77/block_html/content/PrintMath2560.pdf

โครงสร้างคณิตศาสตร์.  สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก http://elearning.psru.ac.th/courses/172/1.2.pdf

สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. หลักการคณิตศาสตร์ ธรรมชาติและโครงสร้างของคณิตศาสตร์. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก www.eledu.ssru.ac.th/chouang_ut/pluginfile.php/17/block_html/content/บทที่-1-ธรรมชาติและโครงสร้างทางคณิตศาสตร์.pdf

การประยุกต์คณิตศาสตร์และสถิติในชีวิตประจำวัน,ธรรมชาติของคณิตศาสตร์.  สืบค้นเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2563. จาก http://genedu.msu.ac.th/elearning/0033005/wp-content/uploads/2019/07/chapter-1.pdf

หัวเรื่อง และคำสำคัญ
ประโยชน์ของคณิตศาสตร์,คณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน,อัตราส่วน, เศษส่วน, ร้อยละ
ประเภท
Text
ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.
บทความ
รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.
สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล
ลิขสิทธิ์
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)
วันที่เสร็จ
วันอังคาร, 14 เมษายน 2563
ผู้แต่ง หรือ เจ้าของผลงาน
สุภัตรา ทรัพย์อุปการ
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
คณิตศาสตร์
ระดับชั้น
ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.5
ม.6
ช่วงชั้น
มัธยมศึกษาตอนต้น
มัธยมศึกษาตอนปลาย
กลุ่มเป้าหมาย
ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป
  • 11495 คณิตศาสตร์มีโครงสร้างหรือเปล่า /article-mathematics/item/11495-2020-04-21-08-21-48
    คลิ๊กเพื่อติดตาม
    เพิ่มในรายการโปรด
  • ให้คะแนน
    คะแนนเฉลี่ย
    • 1
    • 2
    • 3
    • 4
    • 5
    • Share
    • Tweet
    • Share

คุณอาจจะสนใจ
Srinivasa Ramanujan:นักคณิตศาสตร์อัจฉริยะผู้อาภัพ(ตอนที่1)
Srinivasa Ramanujan:นักคณิตศาสตร์อัจฉริย...
Hits ฮิต (25284)
ให้คะแนน
Srinivasa Ramanujan:นักคณิตศาสตร์อัจฉริยะผู้อาภัพ "Srinivasa Ramanujan" คือนักคณิตศาสตร์ชาวอินเดียผ ...
จำนวนสูงสุดที่สามารถนับได้ด้วยนิ้วมือ
จำนวนสูงสุดที่สามารถนับได้ด้วยนิ้วมือ
Hits ฮิต (16800)
ให้คะแนน
แม้ว่านิ้วมือทั้ง 10 นิ้วจะสามารถนับจำนวนได้เพียงแค่ 10 หลัก แต่รู้หรือไม่ว่า 10 นิ้วเหล่านี้เป็นเค ...
ความไร้รูปแบบของการกระจายตัวของจำนวนเฉพาะ
ความไร้รูปแบบของการกระจายตัวของจำนวนเฉพา...
Hits ฮิต (23752)
ให้คะแนน
การ หาจำนวนเฉพาะไม่ใช่เรื่องยาก หากจำนวนดังกล่าวยังอยู่ในวงจำนวนไม่เกินสองหลัก เช่น จำนวนเฉพาะห้าจำ ...

ค้นหาบทความ

กลุ่มเป้าหมาย
ระดับชั้น
สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา
การกรองเปลี่ยนแปลง โปรดคลิกที่ส่งเมื่อดำเนินการเสร็จ
  • บทความทั้งหมด
  • ฟิสิกส์
  • เคมี
  • ชีววิทยา
  • คณิตศาสตร์
  • เทคโนโลยี
  • โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ
  • วิทยาศาสตร์ทั่วไป
  • สะเต็มศึกษา
  • อื่น ๆ
  • เกี่ยวกับ SciMath
  • ติดต่อเรา
  • สรุปข้อมูล
  • แผนผังเว็บไซต์
  • คำถามที่พบบ่อย
Scimath คลังความรู้

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) กระทรวงศึกษาธิการ เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่แสวงหากำไร ได้จัดทำเว็บไซต์คลังความรู้ SciMath เพื่อส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยีทุกระดับการศึกษา โดยเน้นการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นหลัก หากท่านพบว่ามีข้อมูลหรือเนื้อหาใด ๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ โปรดแจ้งให้ทราบเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุด

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST), Ministry of Education, a non-profit organization under the Thai government, developed SciMath as a website that provides educational resources in Science, Mathematics and Technology. IPST invites visitors to use its online resources for personal, educational and other non-commercial purpose. If there are any problems, please contact us immediately.

Copyright © 2018 SCIMATH :: คลังความรู้ SciMath. Terms and Conditions. , All Rights Reserved. 
อีเมล: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. (ให้บริการในวันและเวลาราชการเท่านั้น)